หลักของการตั้งชื่อมงคล
หลักในการตั้งชื่อมงคลนั้น หลายๆท่านอาจมีความเข้าใจว่าเพียงแค่ผลรวมที่ดีเท่านั้นก็ส่งผลดีกับเจ้าของชื่อแล้ว แต่หลังจากที่เราได้มาศึกษากันอย่างละเอียดแล้วนั้น เพียงแค่ผลรวมที่ดีนั้นยังไม่เพียงพอสำหรับชื่อที่ดี ที่จะนำมาตั้งให้เป็นชื่อมงคลได้
ฉะนั้น บทนี้เราจะมาศึกษาถึงหลักการตั้งชื่อมงคลให้ชื่อนั้นส่งผลดีที่สุดกับเจ้าของชื่อได้อย่างมากที่สุด
เริ่มจากหลักสากลที่เป็นหลักการเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานสำหรับการตั้งชื่อ คือ
1. หลักทักษา
( แผนภูมิแสดงทักษา )
เริ่มจากหลักสากลที่เป็นหลักการเบื้องต้นที่เป็นพื้นฐานสำหรับการตั้งชื่อ คือ
1. หลักทักษา
( แผนภูมิแสดงทักษา )
หลักการใช้ทักษาในการตั้งชื่อ
1. หลีกเลี่ยงอักษรที่เป็น "กาลกิณี" ของผู้ที่เกิดในแต่ละวัน เช่น
- ผู้ที่เกิดวันอาทิตย์ ห้ามใช้ อักษร ( ส, ศ, ษ, ห, ฬ, ฮ ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันจันทร์ ห้ามใช้ อักษร ( อ รวมถึงสระ ทุกตัว ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันอังคาร ห้ามใช้ อักษร ( ก, ข, ค, ฆ, ง ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันพุธ ห้ามใช้ อักษร ( จ, ฉ, ช, ซ, ฌ, ญ ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันพฤหัสบดี ห้ามใช้ อักษร ( ด, ต, ถ, ธ, ท, น ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันศุกร์ ห้ามใช้ อักษร ( ย, ร, ล, ว, ฤ ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันเสาร์ ห้ามใช้ อักษร ( ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ณ ) เป็นต้น
- ผู้ที่เกิดวันพุธ (กลางคืน) ห้ามใช้ อักษร ( บ, ป, ผ, ฝ, พ, ฟ, ภ, ม ) เป็นต้น
แทรกเนื้อหาเพิ่มเติม
หลักที่ 1.1
นอกจากตัวอักษร "กาลกิณี" แล้วนั้น ยังมีอักษรที่ต้องหลีกเลี่ยงอีกด้วย
นั่นคือ "อักษรหลาวเหล็ก"
แทรกเนื้อหาเพิ่มเติม
หลักที่ 1.1
นอกจากตัวอักษร "กาลกิณี" แล้วนั้น ยังมีอักษรที่ต้องหลีกเลี่ยงอีกด้วย
นั่นคือ "อักษรหลาวเหล็ก"
2. หลักเลขศาสตร์
หลักของเลขศาสตร์เป็นขั้นตอนที่ใช้ตรวจสอบชื่อ โดยแทนค่าตัวอักษรออกมาเป็นตัวเลข
แล้วหาผลรวมของชื่อนั้นออกมา
หากชื่อได้ผลรวมที่ดี จึงถือว่าเป็นชื่อที่เป็นมงคล โดยสามารถย้อนกลับไปดูความหมายของผลรวมตามหลักเลขศาสตร์ได้ในหัวข้อที่ผ่านมา
ตาม link นี้ http://punnapron2013.blogspot.com/2013/11/blog-post_3.html
ในบทก่อนหน้านี้ได้แสดงไว้ทั้งหมดแล้ว
( หมายเหตุ ) ดูผลรวมชื่อ และ ต้องดูผลรวมนามสกุลด้วย
ซึ่งผลรวมของชื่อนั้นมีความสำคัญ 40% + ผลรวมนามสกุล 20%
+ ผลรวมของชื่อรวมกับนามสกุล 20% รวมแล้ว 100%
หลายท่านอาจคิดว่าหลักการเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการรตั้งชื่อมงคล
แต่แท้จริงแล้วนั้น หลักการเท่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะเรียกได้ว่าชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่าถูกต้องตามหลักการทั้ง 2 ที่กล่าวมา จะเป็นชื่อที่เป็นมงคลสูงสุดกับเจ้าของชื่อได้
เราจะไปดูต่อกันในบทต่อไป
คือ หลักของการตั้งชื่อมงคล ( ตอนที่ 2 )
ตาม link นี้ http://punnapron2013.blogspot.com/2013/11/blog-post_3.html
ในบทก่อนหน้านี้ได้แสดงไว้ทั้งหมดแล้ว
( หมายเหตุ ) ดูผลรวมชื่อ และ ต้องดูผลรวมนามสกุลด้วย
ซึ่งผลรวมของชื่อนั้นมีความสำคัญ 40% + ผลรวมนามสกุล 20%
+ ผลรวมของชื่อรวมกับนามสกุล 20% รวมแล้ว 100%
หลายท่านอาจคิดว่าหลักการเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการรตั้งชื่อมงคล
แต่แท้จริงแล้วนั้น หลักการเท่านี้ยังไม่เพียงพอที่จะเรียกได้ว่าชื่อที่ตั้งขึ้นมาอย่าถูกต้องตามหลักการทั้ง 2 ที่กล่าวมา จะเป็นชื่อที่เป็นมงคลสูงสุดกับเจ้าของชื่อได้
เราจะไปดูต่อกันในบทต่อไป
คือ หลักของการตั้งชื่อมงคล ( ตอนที่ 2 )