ขั้นตอนการพยากรณ์ Step by Step 2
เรียงตามขั้นตอนความสำคัญ ดังต่อไปนี้
๑. ดูในดวงทักษาเดิมก่อน
แล้วมาเทียบกับทักษาจร ดาวไหนเป็น "กาลกิณีเดิม และ กาลกิณีจร" คือดาวเสีย ( ให้ทายก่อน )
๒. ทายต่อในภพ ที่มีดาวครองราศีเด่น
เช่น ภพกดุมภะ มีดาวเด่น เป็นมหาจักร ราชาโชค ฯลฯ หรือเป็นเดช ศรี มนตรี ซึ่งต้องสัมพันธ์กับลัคน์ ( จึงนำมาทายเรื่องฐานะทางการเงิน )
๓. ทายภพต่อมา สหัชชะ ( เพื่อนฝูง )
ถ้าดาวเจ้าเรือนสหัชชะดี เพื่อนดี แต่...ถ้าเป็นกาลกิณี ( คงดีไม่ได้แน่ๆ ) และถ้าได้เป็นตำแหน่งที่มีกำลังมาก เช่น มหาจักร มหาอุจจ์ ฯลฯ คือ เพื่อนดีมีฐานะ มีการงานที่ดี
๔. ทายภพต่อมา พันธุ ( ญาติ, พี่น้อง, บิดามารดา )
ถ้าดาวดี ดังที่อธิบายมาทั้งหมดข้างต้น คือ ญาติ, พี่น้อง, บิดามารดา มีฐานะมั่นคง การเงินดี
๕. ทายภพต่อมา ปุตตะ ( บุตร บริวาร )
ถ้าเป็น ศรี, มหาอุจจ์, มหาจักร ฯลฯ และสัมพันธ์กับลัคนาดี ฉะนั้น บุตรดี พึ่งได้ อภิชาติบุตร คือดีกว่าบิดามารดา ๑๐ เท่า
๖. ทายภพต่อมา อริ ( ศัตรู หรือ อุปสรรค )
ต้องดูที่ ดาวเจ้าเรือนอริ ถ้าดาวตำแหน่งดี เท่ากับมีศัตรูเข้มแข็ง ซึ่งจะต่อต้าน ขัดขวางเราได้
( หากยิ่งกุมลัคน์ ไปที่ไหนก็เกิดศัตรู ควรระวัง )
แต่ที่ดาวเจ้าเรือนอริ ไม่มีกำลัง จะดี คือศัตรูนั้นถึงจะมี ก้พอเอาตัวรอดได้ ศัตรูทำอะไรไม่ได้มาก
๗. ทายภพต่อมา ปัตนิ ( คู่ครอง หรือ หุ้นส่วนทางธุรกิจ )
ต้องดูที่ตำแหน่งของดาว เป็นตำแหน่งที่ดีกับลัคนาหรือไม่ เช่น กุมลัคน์ โยคหน้า โยคหลัง ตรีโกณ เล็งลัคน์ ฯลฯ ที่ไม่เป็นดาวกาลกิณี ไม่เป็นนิจ หรือ ประ ไม่มีดาว ๐ และ ๘ หรือกาลกิณีมารบกวน ทายได้เลยว่า "ชีวิตรักราบรื่น"
๘. ทายภพต่อมา มรณะ
ภพมรณะ ไม่ได้มีไว้ทายความตาย แต่ภพนี้ "เป็นภพตัดทอนกำลังของดาว"
และ ไว้เทียบดาว ประจำวัยต้น วัยกลาง วัยปลาย ซึ่งถ้าดาวเจ้าวัยใด มาตรงกับ "วับเทียบ" อริ มรณะ วินาศนั้น จะลดทอนกำลังของดาวลงไป ทั้งคุณและโทษ
๙. ทายภพต่อมา ศุภะ ( ความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน )
รวมถึงด้านการเงิน การสร้างตัว และงานในบ้าน งานอดิเรก หรือภพที่อาจแทนได้ว่าเป็น "รายได้เสริม"
๑๐. ทายภพต่อมา กรรมะ ( อาชีพหลัก )
ดาวเจ้าเรือนดี งานก็เจริญก้าวหน้าดี ราบรื่น รุ่งเรือง
แต่ถ้า... เป็น กาลกิณี เป็นนิจ เป็นประ ( ก็พอจะก้าวหน้า แต่อืดหน่อย )
***หมายเหตุ***
ภพกรรมะ ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ดาว ๓, ๕, ดาวบริวาร และมนตรีดี
๑๑. ทายภพต่อมา ลาภะ ( การเสริมสร้างฐานะทางการเงิน )
ถ้ามีดาวเจ้าเรือน เป็นกาลกิณี หรือ มีกาลกิณีร่วมกับดาว ๘ หรือ ดาว ๐ เป็นดาวลอยอยู่ในเรือนลาภะ
( ใช้เงินเก่ง มีเท่าไรใช้เรียบ ไม่มีเหลือเก็บสักบาท และใช้เงินเกินตัว )
๑๒. ทายภพต่อมา วินาศ
ภพนี้ก็เป็นอีกภพหนึ่ง ที่สามารถลดโทษหรือคุณของดาวได้
***หมายเหตุ***
- ถ้า "ดาวเจ้าเรือน ปัตนิ" มาอยู่ในภพนี้ ( มักมีคู่แบบงุบงิบ ปกปิด เพราะอยู่ด้วยกันแล้วมีปัญหา )
- ดาว ๕ อยู่ในภพนี้ ให้คุณด้านการเรียน แต่ด้านการงานต้องช่วยตัวเอง
- ถ้า "ดาวเจ้าเรือน ปุตตะ" มาอยู่ในภพนี้ ( จะไม่ได้ใกล้ชิดบุตรหลาน นานๆจะได้พบกัน )
แต่ที่ดาวเจ้าเรือนอริ ไม่มีกำลัง จะดี คือศัตรูนั้นถึงจะมี ก้พอเอาตัวรอดได้ ศัตรูทำอะไรไม่ได้มาก
๗. ทายภพต่อมา ปัตนิ ( คู่ครอง หรือ หุ้นส่วนทางธุรกิจ )
ต้องดูที่ตำแหน่งของดาว เป็นตำแหน่งที่ดีกับลัคนาหรือไม่ เช่น กุมลัคน์ โยคหน้า โยคหลัง ตรีโกณ เล็งลัคน์ ฯลฯ ที่ไม่เป็นดาวกาลกิณี ไม่เป็นนิจ หรือ ประ ไม่มีดาว ๐ และ ๘ หรือกาลกิณีมารบกวน ทายได้เลยว่า "ชีวิตรักราบรื่น"
๘. ทายภพต่อมา มรณะ
ภพมรณะ ไม่ได้มีไว้ทายความตาย แต่ภพนี้ "เป็นภพตัดทอนกำลังของดาว"
และ ไว้เทียบดาว ประจำวัยต้น วัยกลาง วัยปลาย ซึ่งถ้าดาวเจ้าวัยใด มาตรงกับ "วับเทียบ" อริ มรณะ วินาศนั้น จะลดทอนกำลังของดาวลงไป ทั้งคุณและโทษ
๙. ทายภพต่อมา ศุภะ ( ความรุ่งเรืองในหน้าที่การงาน )
รวมถึงด้านการเงิน การสร้างตัว และงานในบ้าน งานอดิเรก หรือภพที่อาจแทนได้ว่าเป็น "รายได้เสริม"
๑๐. ทายภพต่อมา กรรมะ ( อาชีพหลัก )
ดาวเจ้าเรือนดี งานก็เจริญก้าวหน้าดี ราบรื่น รุ่งเรือง
แต่ถ้า... เป็น กาลกิณี เป็นนิจ เป็นประ ( ก็พอจะก้าวหน้า แต่อืดหน่อย )
***หมายเหตุ***
ภพกรรมะ ต้องมีองค์ประกอบอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ดาว ๓, ๕, ดาวบริวาร และมนตรีดี
๑๑. ทายภพต่อมา ลาภะ ( การเสริมสร้างฐานะทางการเงิน )
ถ้ามีดาวเจ้าเรือน เป็นกาลกิณี หรือ มีกาลกิณีร่วมกับดาว ๘ หรือ ดาว ๐ เป็นดาวลอยอยู่ในเรือนลาภะ
( ใช้เงินเก่ง มีเท่าไรใช้เรียบ ไม่มีเหลือเก็บสักบาท และใช้เงินเกินตัว )
๑๒. ทายภพต่อมา วินาศ
ภพนี้ก็เป็นอีกภพหนึ่ง ที่สามารถลดโทษหรือคุณของดาวได้
***หมายเหตุ***
- ถ้า "ดาวเจ้าเรือน ปัตนิ" มาอยู่ในภพนี้ ( มักมีคู่แบบงุบงิบ ปกปิด เพราะอยู่ด้วยกันแล้วมีปัญหา )
- ดาว ๕ อยู่ในภพนี้ ให้คุณด้านการเรียน แต่ด้านการงานต้องช่วยตัวเอง
- ถ้า "ดาวเจ้าเรือน ปุตตะ" มาอยู่ในภพนี้ ( จะไม่ได้ใกล้ชิดบุตรหลาน นานๆจะได้พบกัน )
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น